ชื่อหนังสือ (Title) : อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ : ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง
ผู้แต่ง (Author) : ประภัสสร์ ชูวิเชียร
พิมพ์ครั้งที่ (Edition) : 2
พิมพลักษณ์ (Imprint) : กรุงเทพฯ : มติชน, 2561
บรรณลักษณ์ (Collation) : 232 หน้า : ภาพประกอบสี, แผนที่ ; 24 ซม.
เลขเรียกหนังสือ (Call Number) : 720.95 ป388อ 2561
สาระสังเขป (Abstract) : กรุงเทพฯ ไม่ได้เริ่มต้นขึ้นจากการสถาปนาพระราชวัง หรือกำแพงเมืองแต่อย่างใด แต่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัวจากชุมชน เรือกสวน ไร่นา มีวัดวาอารามอันเสมือนเป็น ศูนย์กลางประจำท้องถิ่น ปัจจุบันเขตแดนเหล่านี้กำลังจะถูกกลืนกินด้วย “ความเจริญ” ที่คืบคลานจากกลางเมือง สู่ชานเมืองกรุงเทพฯ และปริมณฑล ศิลปกรรมบางแห่ง ถูกทิ้งร้างไม่ต่างจากเศษขยะของอดีต ผศ.ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร สำรวจ แกะรอยตามเส้นทางคมนาคมเดิมคือ แม่น้ำ ลำคลอง ทั่วทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้พบงานศิลปกรรมที่มีอายุเก่าแก่ไปถึงสมัย อยุธยาตอนต้น ฉายภาพให้เห็นถึงชุมชนโบราณดั้งเดิมที่เรียกกันว่า “หัวเมืองปากใต้” ของอยุธยา การค้นพบนี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นแสงสว่างในอุโมงค์ลึก ท่ามกลางเงามืดแห่งความ ศิวิไลซ์ของมหานครแห่งนี้